พอช.จับมือ Gistda พัฒนานักภูมิสารสนเทศ ตั้งเป้าเคลื่อนงาน GIS ทั่วประเทศ

ระหว่างวันที่ 5 – 6 กรกฎาคม 2561 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) หรือพอช. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ Gistda กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดฝึกอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายชุมชนเพื่อเป็นผู้ฝึกอบรมด้านภูมิสารสนเทศเพื่อชุมชน ในหลักสูตรที่ 3 หลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) “กลไกความร่วมมือเชิงเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ” ระบบสนับสนุนการตัดสินใจลดความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่บนฐานการรักษาความมั่นคงของทรัพยากร (G-Social) อย่างต่อเนื่องเป็นหลักสูตรสุดท้ายของปีนี้ โดยที่ผ่านมาได้จัดอบรมไปแล้วใน 2 หลักสูตรคือ หลักสูตรที่ 1 หลักสูตรภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาฐานข้อมูลทรัพยากรที่ดินระดับชุมชน ระหว่างวันที่ 4 – 5 มิถุนายน 2561 และหลักสูตรที่ 2 หลักสูตรภูมิสารสนเทศเพื่อการวิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูลองค์กรชุมชนสู่การวางแผนบริหารจัดการเร่งรัดพัฒนาระดับพื้นที่ (Area Based) ระหว่างวันที่ 19 – 20 มิถุนายน 2561 โดยมีเข้าอบรมเป็นเครือข่ายชุมชนจาก 5 ภาค ที่ปฏิบัติงานด้านการจัดการที่ดินชุมชน และเจ้าหน้าที่สถาบันฯ ที่สนใจ

โดยเนื้อหาในหลักสูตรนี้มุ่งเน้นการใช้งานจากระบบสนับสนุนการตัดสินใจลดความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่บนฐานการรักษาความมั่นคงของทรัพยากร(G-Social) https://gsocial.gistda.or.th/ เป็นระบบที่รวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่จากหลากหลายแหล่งข้อมูล เพื่อมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศที่ Gistda พัฒนา เพื่อให้เห็นความเหลื่อมล้ำของทรัพยากร ด้านป่าไม้ น้ำ ที่ดิน ทะเลและชายฝั่ง เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปพัฒนาพื้นที่ ที่มีปัญหาต่อได้ ซึ่งระบบมีข้อมูลที่ค่อนข้างหลากหลาย ผู้เข้าใช้งานระบบสามารถเลือกดูข้อมูลเพื่อการจัดการข้อมูลที่ดิน การจัดการขอบเขตหมู่บ้าน การจัดการแหล่งน้ำ และนอกจากนี้ยังสามารถประยุกต์ใช้ Application G-Social on Mobile เพื่อจัดการขอบเขตที่ดินโดยการเดินสำรวจขอบเขตรายแปลงได้

หลังการฝึกอบรมในวันที่ 5 ทางวิทยากรของ Gistda คุณปรีย์วรา คำลือ และคุณอลิษา เสมานารถ ได้หารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในประเด็นประโยชน์ที่ชุมชน ผู้นำชุมชนจะได้รับ/ความยากง่ายในการเข้าถึงระบบ/ข้อมูลที่จำเป็นและสำคัญสำหรับการวางแผนและตัดสินในระดับชุมชน/ความต้องการ ส่วนการพัฒนาระบบ(ฟังก์ชั่นการใช้งาน เพิ่ม ลบ แก้ไข วิเคราะห์ แสดงผลข้อมูล)/การร่วมแลกเปลี่ยน แบ่งปันข้อมูลชุมชน ผ่านระบบ G-Social หรือระบบอื่นๆ ของ Gistda/การเป็นภาคีเครือข่ายเพื่อขยายผลการฝึกอบรมการใช้งานระบบ G-Social ให้กับหน่วยงานในพื้นที่ ชุมชน โดยมีผู้ร่วมแลกเปลี่ยนในประเด็นดังกล่าว จากทั้ง 5 ภาค ซึ่งส่วนใหญ่เห็นถึงประโยชน์ของระบบ G-Social เพราะสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลในระบบเพื่อไปพัฒนาต่อในพื้นที่ของตนเองได้ เพราะข้อมูลที่นำไปใช้นั้นเป็นข้อมูลที่ได้การยอมรับ จากหน่วยงานต่างๆ เพราะมีมาตรฐานของข้อมูล การเห็นภาพรวมของข้อมูล G-Social (การเกษตร/ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม/ทะเลและชายฝั่ง/ที่ดิน/ป่าไม้/ภัยพิบัติ/เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ/แหล่งน้ำ)ทำให้เห็นถึงแนวทางการนำไปใช้ ซึ่งแต่ก่อนนั้นการเข้าถึงข้อมูลพวกนี้นั้นยากมาก Gistda สามารถทำให้เข้าถึงข้อมูลพวกนี้ได้ง่าย

อย่างไรก็ตามเครือข่ายชุมชนยังมีความกังวลในเรื่องของการนำข้อมูลไปใช้ควรมีการจัดเวทีเพื่อรับรองข้อมูลจากชุมชนก่อน เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการดูทรัพยากรของชุมชน และหลังจากการอบรม ไม่แน่ใจว่าในฐานนะผู้ใช้งานทั่วไป จะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ระดับไหน เพราะในการอบรมเราสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทั้งหมด และข้อเสนอแนะในการให้ Gistdaทำข้อมูลพื้นฐานทั่วไปที่ใครก็สามารถดูได้ง่าย เช่น ข้อมูลสรุป ข้อมูลวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงวิจัย ซึ่งทางวิทยากรจะรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปพัฒนาระบบต่อไปให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานต่อไป

ส่วนการอบรมในวันที่สอง 6 กรกฎาคม 2561 เป็นการอบรมผ่านระบบโครงการผลิตแผนที่กลางออนไลน์ http://gmos.gistda.or.th/ โดยวิทยากรจาก Gistda คุณวรนุช จันทร์สุริย์ ซึ่งระบบนี้สามารถผลิตภาพแผนที่ได้แบบสำเร็จรูป ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลน้ำท่วม ข้อมูลการเกษตร ข้อมูลภัยแล้ง ข้อมูลไฟป่า ข้อมูลทะเลและชายฝั่ง ข้อมูลชายฝั่ง และข้อมูลสถิติ และนอกจากนี้วิทยากรยังได้แนะนำเว็บไซต์ต่างๆ ที่ให้บริการ ในเรื่องของการบูรณาการข้อมูลเพื่อการติดตามสถานการณ์น้ำท่วม การติดตามกลุ่มเมฆ และฝน (ก่อนเกิดเหตุ เฝ้าระวัง ระหว่างเกิด และหลังเกิดเหตุ) การติดตามสถานการณ์น้ำในเขื่อน การติดตามระดับน้ำในแม่น้ำปริมาณน้ำท่า น้ำฝน ระบบเตือนภัยต่างๆ ของกรมทรัพยากรน้ำ ข้อมูลกล้อง CCTV กรมทางหลวง การประยุกต์ใช้ชุดข้อมูลฐาน และชั้นข้อมูลสารสนเทศของ GISTDA ในการติดตามภัยพิบัติ การให้ความรู้เกี่ยวกับดาวเทียมชนิดต่างๆ และคุณสมบัติของดาวเทียมนั้น การหาข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมมาใช้งานจากเว็บไซต์ต่างๆ ที่ให้บริการ

การ WorkShop การประยุกต์ใช้ข้อมูลฐานและสารสนเทศพร้อมใช้ ในการวางแผนและบริหารจัดการภัยพิบัติ เพื่อบรรเทาสถานการณ์น้ำท่วมและสถานการณ์ทางทะเลและชายฝั่ง การประยุกต์ใช้ข้อมูลฐาน และสารสนเทศพร้อมใช้ในการวางแผนและบริหารจัดการภัยพิบัติ เพื่อบรรเทาสถานการณ์ภัยแล้งและสถานการณ์ไฟป่าหมอกควัน ซึ่งมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel ด้วยการทำ Pivot Table อย่างง่าย และการ Workshop ด้วยโปรแกรม Qgis 2.18 ในการสร้างดัชนีบ่งชี้ภัยแล้งจากดาวเทียม Landsat8 ซึ่งนับว่าเป็นการเปิดโลกทรรศน์ใหม่ให้กับเครือข่ายชุมชน และเจ้าหน้าที่สถาบันฯที่เข้ารับการอบรมเป็นอย่างมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่รู้มาก่อนว่าเราสามารถหาข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมมาใช้งานได้ฟรีโดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่าย

ในช่วงท้ายของการอบรม รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน คุณพรรณทิพย์เพชรมาก ได้กล่าวปิดการอบรม และได้ฝากโจทย์ให้กับเครือข่ายชุมชนที่เข้ารับการอบรมในเรื่องของการนำไปประยุกต์ใช้กับงานพัฒนาด้านต่างๆ ในพื้นที่ และการมอบวุฒิบัตรสำหรับผู้เข้าอบรมในทุกหลักสูตรจากเครือข่ายชุมชนทั้ง 5 ภาค และเจ้าหน้าที่สถาบันฯ

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม 2561 ณ ห้องประชุม 301-302 ชั้น3 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนนำโดย ฝภส.และPMสังคม จัดอบรมเป็นหลักสูตรที่ 3 ในเรื่องการใช้งานระบบสนับสนุนการตัดสินใจลดความเหลือมล้ำเชิงพื้นที่ บนฐานการรักษาความมั่นคงของทรัพยากร (G-Social)โดยมีผู้เข้าร่วมเข้ารับการอบรมเป็นเครือข่ายของสภาองค์กรชุมชนจากทุกภาค จำนวน 42 คน หัวข้อในการบรรยายเริ่มจากการแนะนำระบบ การใช้งานการจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ (GIS),การจัดการข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหาร (MIS),การใช้งานการจัดการข้อมลู ทั่วไป (Data),การใช้งานการนำเสนอภาพรวมบทสรุปผู้บริหาร (Dashboard)และการใช้งานแอพพลิเคชั่น G-Social บนโทรศัพท์มือถือ (ทดลองเดินสำรวจจริง) ภาพรวมของการเรียนรู้ในวันนี้ ผู้เข้าอบรมสามารถใช้งานระบบในฟังก์ชันต่างๆได้ดี มีข้อซักถามและความคิดเห็นตลอดการอบรม มีข้อติดขีดในเรื่องสัญญาณอินเตอร์เนตในบางช่วงเวลา หลังจากการเรียนรู้นั้นได้มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นร่วมกัน ในการใช้งานของระบบ ดังนี้
1.ประโยชน์ในการนำระบบไปใช้กับชุมชน ผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่มองเห็นประโยชน์จากระบบG-Social ในการคืนข้อมูลของรัฐ(ข้อมูลพื้นฐานจปฐ.และกชช.2ค) ที่สำรวจจากประชาชนให้กับชุมชนได้รับทราบด้วยการนำเสนอในรูปแบบเชิงพื้นที่จะไปช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจพัฒนาพื้นที่ในมิติต่างๆและติดตามพื้นที่ในเรื่องโครงการที่เข้าไปพัฒนาได้ รวมไปถึงการสะท้อนความเป็นจริงของการเก็บข้อมูลในระดับครัวเรือน มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มองว่าระบบนี้สามารถใช้ได้แค่ระดับนโยบาย
2.ความยากง่ายในการเข้าถึงระบบ ผู้เข้าอบรมเห็นว่าสามารถเข้าถึงได้ แต่ความเข้าใจในระบบนั้นต้องอาศัยพื้นฐานความรู้ของแต่ละบุคคลและยังมีข้อกังวลในเรื่องของสิทธิในการใช้งานและแก้ไขข้อมูลระกับชุมชน
3.ข้อมูลที่จำเป็นและสำคัญสำหรับการวางแผนและตัดสินใจในชุมชน ผู้เข้าอบรมให้ความเห็นว่าต้องเป็นข้อมูลที่ได้จากความเป็นจริงและเกิดการจากการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนโดยแท้จริง ถึงจะสะท้อนปัญหาและใช้ในการตัดสินใจได้
4.ความต้องการในส่วนของการพัฒนาระบบ รายละเอียดขอสรุปเป็นรายงานแนบตามหลังค่ะ
5.มีผู้สนใจเข้าร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลชุมชนผ่านระบบG-Social จำนวน 17 ท่าน (รายชื่อและรายละเอียดจะเพิ่มเติมให้ในรายงานค่ะ)
6.มีผู้สนใจเป็นส่วนหนึ่งของระบบต่อการขยายผลการฝึกอบรมระบบG-Socialให้กับหน่วยงานในพื้นที่จำนวน 13 ท่าน (รายชื่อและรายละเอียดจะเพิ่มเติมให้ในรายงานค่ะ)
อลิษา รายงาน