(17 มีนาคม 2562) ทีมงานประชุมหารือร่วมกับทีมวางแปลงสำรวจข้อมูลการกักเก็บคาร์บอน ในประเด็น
1. ทีมงานอธิบายเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลความแน่นเรือนยอดของพืชพรรณ (FCD)แก่ทีมวางแปลงฯ
2. นำเสนอข้อมูล (FCD) เพื่อการกำหนดตำแหน่งวางแปลงใหม่ โดยเบื้องต้นวางแปลงใหม่ จำนวน 8 แปลง (พื้นที่ปูนะ 4 แปลง พื้นที่ปางมะหัน 4 แปลง)

(18 มีนาคม 2562) ประชุมหารือความต้องการและวางแผนการประยุกต์ใช้ข้อมูลเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ของพื้นที่โครงการร้อยใจรักษ์ (ห้วยส้าน) ในระบบภูมิสารสนเทศ สามารถสรุปความต้องการเป็นฟังก์ชั่นงาน เบื้องต้นได้ 5 ฟังก์ชั่น ดังนี้ การนำเข้าข้อมูล (Add Data),การส่งออกข้อมูล (Export Data),รายงานสรุป (Dashboard) การแสดงผลข้อมูลในรูปแบบต่างๆ (Display Data) และการแสดงการเปรียบเทียบข้อมูล ซึ่งความต้องการดังกล่าวนี้เป็นความต้องการของระบบที่จะพัฒนาขึ้นในอนาคต

จากการประเมินเบื้องต้นมี 3 ความต้องการ ที่สามารถนำมาพัฒนาบนระบบ MFLF portal ได้ก่อน คือ 1. การเปรียบเทียบสัดส่วนการใช้พื้นที่ในลุ่มน้ำ (โดยทางทีมห้วยส้านจะส่งข้อมูลการใช้ประโยชน์พื้นที่ให้ทีมจิสด้า) 2.การแสดงผลข้อมูลที่สามารภเชื่อมโยง ข้อมูลระหว่างแปลงที่อยู่อาศัยกับพื้นที่ทำกิน ได้ 3.การค้นหาข้อมูล โดยสามารถกำหนดเงื่อนไขได้ ทั้งนี้ข้อ 2 และ 3 สามารถใช้ข้อมูลจากทีมห้วยส้าน ที่ส่งให้ก่อนหน้า
สำหรับการพัฒนาฟังก์ชั่นงานอื่นๆ ตามความต้องการข้างต้นนั้น จะหารือร่วมกันในลำดับต่อไป

 

(19 มีนาคม 2562) ช่วงเช้า-ช่วงบ่าย ลงพื้นที่วางแปลงเก็บข้อมูลคาร์บอนในพื้นที่ปางมะหัน ร่วมกับทีมมูลนิธิแม่ฟ้าหลางฯ และเจ้าหน้าที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการจากTGO และช่วงเย็น ประชุมหารือการดำเนินงานโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-Ver) พื้นที่ปูนะ ปางมะหัน ร่วม 3 ฝ่าย (ทีมมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ทีมจิสด้า และเจ้าหน้าที่ TGO)

ได้กำหนดแผนการดำเนินการ (Timeline) ดังนี้
1. เดือนพฤษภาคม มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ จัดส่งรายงานการวิเคราะห์ค่าการกักเก็บคาร์บอน ให้ TGO ตรวจสอบ
2. เดือนมิถุนายน ผู้ประเมินภายนอก (Validation and Verification Body:VVB)ลงทวนสอบโครงการฯ เพื่อพิจารณาการขอขึ้นทะเบียนโครงการฯ (T-Ver)

  

Cr. ประภาพร รายงาน