“โครงการศึกษาความเหมาะสมวิเคราะห์พื้นที่พิเศษและแนวทางแก้ไขเชิงบูรณาการ”

ณ ห้องประชุมใหญ่ ศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นครศรีธรรมราช

   

วันที่ 10 กันยายน 2561 สปภ. โดย นางสาวปานวาด นิติกุล และนางสาวประภาพร ภาชีรัตน์ ฝ่ายความมั่นคงทางสังคม เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ “โครงการศึกษาความเหมาะสมวิเคราะห์พื้นที่พิเศษและแนวทางแก้ไขเชิงบูรณาการ” ณ ห้องประชุมใหญ่ ศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นครศรีธรรมราช โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านน้ำที่เกี่ยวข้องร่วมให้ความคิดเห็น จำนวน 30 คน การระดมความคิดเห็นในครั้งนี้ทำให้รับทราบข้อเท็จจริงในพื้นที่ว่า การวิเคราะห์พื้นที่พิเศษ (Area based) ในพื้นที่ภาคใต้ ต้องมีการนำปัจจัยเชิงกายภาพเชิงพื้นที่มาร่วมวิเคราะห์ด้วย เพราะสภาพภูมิประเทศของภาคใต้เป็นส่วนใหญ่เป็นภูเขา ทำให้น้ำท่วมที่เกิดในพื้นที่แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ น้ำไหลหลาก น้ำท่วมขัง น้ำเอ่อล้นตลิ่ง ซึ่งลักษณะการเกิดน้ำไหลหลาก มันเป็นภัยที่เกิดขึ้นแบบฉับพลันในระยะ 1-2 วัน ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่ภาพดาวเทียมไม่สามารถบันทึกภาพได้ จากการที่ระดมความคิดเห็นในวันนี้ สะท้อนให้เห็นว่า การเกิดน้ำป่าไหลหลากแม้จะเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ต่อส่งผลกระทบต่อพื้นที่และทำให้เกิดความเสียหาย จึงเสนอแนะให้นำค่าปัจจัยอื่นๆ เช่น ข้อมูลค่าสถิติการเกิดภัยพิบัติของทางปภ. มาร่วมวิเคราะห์พื้นที่พิเศษด้วย จะทำให้การเลือกพื้นที่พิเศษ และการประเมินโครงการในพื้นที่จะมีความถูกต้อง แม่นยำมากยิ่งขึ้น