โครงการศึกษาความเหมาะสมวิเคราะห์พื้นที่พิเศษ(Area based)และแนวทางแก้ไขเชิงบูรณาการ

ณ ห้องภูผาม่าน โรงแรมขอนแก่นโฮเต็ล จังหวัดขอนแก่น

วันที่ 4 กันยายน 2561 PM สังคม และ สปภ. นำโดย นางสาวประภาพร ภาชีรัตน์ นางสาวปานวาด นิติกุล นายนรเชษฐ์ อัจจิมา และนางสาวญาติกานต์ ฉวีวงศ์ ได้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ  มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 60 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนการดำเนินการแก้ไขปัญหาพื้นที่สำคัญที่มีปัญหาด้านน้ำอย่างบูรณาการ ตลอดจนร่วมกำหนดกรอบและแนวทางการดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ได้แก่ สำนักงานชลประทานที่6 สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานทรัพยากรน้ำบาดาลจังหวัด สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด และ ปภ. เพื่อให้เกิดการมองบริบทของพื้นที่ในภาพรวม ลดความซ้ำซ้อนของการเสนอของบประมาณโครงการด้านน้ำ ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดนโยบายในการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพสูงสูด นำมาซึ่งฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศที่ใช้วิเคราะห์พื้นที่ที่มีปัญหาด้านน้ำ และสามารถวางแผนงานโครงการในระยะ 5 ปี ที่สอดคล้องกับพื้นที่ที่มีปัญหาด้านน้ำ ในกลุ่มพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 3 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ลุ่มน้ำชีตอนบน ลุ่มน้ำชีตอนกลาง และลุ่มน้ำมูลตอนล่าง 5 จังหวัด ได้แก่ 1) จังหวัดขอนแก่น 2) จังหวัดร้อยเอ็ด 3) จังหวัดมหาสารคาม 4) จังงหวัดกาฬสิทธุ์ 5) จังหวัดชัยภูมิ โดยการประชุมฯ ได้แบ่งกลุ่มย่อย เพื่อหารือและแลกเปลี่ยน 3 ประเด็น คือ 1) การกำหนดขอบเขตของพื้นที่ Area based 2) สภาพปัญหาและสาเหตุของพื้นที่ 3) แนวทางแก้ไข/โครงการพื้นที่
ทั้งนี้ สทอภ. ได้ร่วมสังเกตุการณ์ประชุมกลุ่มย่อยและได้แลกเปลี่ยนการบูรณาเทคโนโลยีสำหรับการวิเคราะห์พื้นที่พิเศษ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ เสนอให้ปรับเพิ่มและลดขอบเขตพื้นที่พิเศษ (Area Based)บางส่วน เพื่อความสอดคล้องกับการแก้ไขปัญหา รองรับกับโครงการที่เกิดขึ้นในอนาคต และเพิ่มเติมข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ เช่น ข้อมูลการประกาศพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง ข้อมูล GPP ของจังหวัด เป็นต้น

ประภาพร ปานวาด รายงาน