(ช่วงเช้า) สทอภ.นำโดย ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา “เข้าร่วมประชุมแนะนำโครงการ Voice for Mekong Forest พลังเสียงเพื่อป่าไม้แห่งลุ่มน้ำโขง เชื่อมร้อยพื้นที่ภูมิทัศน์ป่าไม้ และประชาชนให้เป็นหนึ่งเดียว”

  ณ ห้องเมจิก โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กทม.มีผู้เข้าร่วมประมาณ 50 ท่าน โดยมีนายอรรถพล เจริญชันษา รองอธิบดีกรมป่าไม้ เป็นประทานกล่าวเปิดงาน และคุณ Jenni Lundmark  ผจก.โครงการ คณะผู้แทน สหภาพยุโรปประจำประเทศไทย แนะนำโครงการ

  การจัดงานนี้เพื่อให้เกิดการดำเนินโครงการในประเทศไทย ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า มูลนิธิรักษ์ไทย และองค์กรกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล โดยนำเสนอภาพรวม วัตถุประสงค์ ขอบเขต กลไกลการดำเนินโครงการในประเทศไทย / แบ่งปันความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความริเริ่มการบริหารจัดการพื้นที่ป่าไม้อย่างเป็นธรรม / ระดมความคิดและพูดคุยกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในประเด็นการบริหารจัดการพื้นที่ป่าไม้และระบบตรวจสอบภายใต้บริบทของประเทศไทย

  ในการนี้มีการบรรยายพิเศษเรื่อง ธรรมภิบาลป่าไม้ โดย อ.ไพรสิฐ พาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ มช. และคุณอนันต์ ดวงเรือนแก้ว ประธานสถาบันพัฒนาทรัพยากรและเกษตรกรรมอย่างนั่งยืนแม่ทา จ.เชียงใหม่

 

 

  (ภาคบ่าย) วงเสวนา “ธรรมาภิบาลป่าไม้ไทยจะตรวจสอบได้อย่างไร” พิธีกรดำเนินการเสวนา คุณจตุรงค์ แสงโชติกุล (ผู้ประกาศข่าวสถานีไทยพีบีเอส)และผู้เชียวชาญ และนักวิชาการ ภาคประชาสังคม หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ดังนี้

  • คุณอนุสรณ์ รังสิพานิช (รักษาการอธิการ สถาบันวิทยาการอวกาศและภูมิสารสนเทศ)
  • ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ (ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มช.)
  • คุณกรภัทร์ ดำรงค์ไทย (ผอ.สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานฯ)
  • คุณบรรจง วงศ์ศรีสุนทร (ผอ.ส่วนรับรองการป่าไม้ สำนักการอนุญาต กรมป่าไม้)
  • คุณไพรัช โตวิวัฒน์ (รองประธานกรรมการหอการค้า จ.เชียงใหม่)

  ธรรมาภิบาลป่าไม้ไทยจะตรวจสอบได้อย่างไร ในมุมมองของหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กระบวนการจัดป่าไม้ที่ยั่งยืน การบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ เครื่องมือการจัดการทุกมิติ ธรรมาภิบาลและการค้าอย่างไรบ้าง

 

 

Cr. ปรีย์วรา คำลือ