“การพัฒนาชุมชนสู่ ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เป็นไปได้ไม่ใช่แค่มโนภาพ”
28/ม.ค./61 รมช.กษ. ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร พร้อมคณะผู้บริหารจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและปาฐกถาพิเศษ แนวทางขับเคลื่อนศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในกิจกรรมโครงการ “คืนชีวิตให้…แจ่ม” เป็นการบูรณาการหลายภาคส่วนทั้ง มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ, เครือข่ายเอามื้อ , สสส., สจล.,หน่วยงานท้องที่-ท้องถิ่น และประชาชนคนแม่แจ่ม โดยนายบุญลือ ธรรมธรานุรักษ์ นายอำเภอแม่แจ่ม ที่มั่งหวังสร้างความเข้มแข็งจากภายในชุมชน บนพื้นฐานของหลักคิดทางภูมิสังคมและยอมรับข้อแตกต่างในบริบทของชุมชน ได้ร่วมวางแผน ออกแบบ แนวทางการดำเนินโครงการฯ กับทีมงาน สจล. , มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และสภาคริสตจักรแห่งประเทศไทย ซึ่งปัญหาในพื้นที่อำเภอแม่แจ่มมีหลายอย่างที่ต้องแก้ไข ทั้งในเรื่องความยากจน ปัญหาหน้าดินพังทลาย ดินไม่ดีปลูกพืชอะไรก็ไม่โต ไม่ได้รับผลผลิต การขาดแคลน้ำภาคการเกษตร และการคมนาคม ถนนหนทาง ก็ยังต้องได้รับการดูแลจากภาครัฐ และประเด็นสำคัญประชาชนมีที่ดินทำกินในเขตที่ดินของรัฐกว่า 80% ของพื้นที่ โดยจิสด้าเอง ได้เข้ามามีส่วนร่วมออกแบบ แนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกับทุกภาคส่วนในพื้นที่แม่แจ่มกว่า 2 ปี และเพื่อเปิดพื้นที่ให้ชาวแม่แจ่ม โดยเฉพาะในพื้นที่บ้านสันเกี๋ยง ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และลงมือทำ ในพื้นที่โรงเรียนสาธิต มศว. (สมเด็จย่า) มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้มากกว่า 300 คน
ทั้งนี้ รมช.กษ. ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ได้ให้กำลังใจทั้งหน่วยงานและประชาชนคนแม่แจ่ม ให้น้อมนำแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 เป็นแนวทางที่ท่านทรงปฏิบัติให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง มีหลายพื้นที่ ที่ปรับเปลี่ยนแนวทางการทำเกษตรตามศาสตร์พระราชา โคก หนอง นา โมเดล แล้วประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านห้วยกระทิง อ.แม่ระมาด จ.ตาก ที่ได้มาเอามื้อในวันนี้ หากวันนี้ชาวแม่แจ่มคิดอยากจะเปลี่ยนแปลงการทำเกษตร สามารถทำได้เลยแค่ลงมือทำ อย่าเพิ่งไปคิดว่าพื้นที่ผืนดินตนเองติดกฏหมาย ระเบียบ กติกา ป่าไม้/อุทยาน ข้อไหน เพราะที่ผ่านมาก็อยู่ทำกินกันมาได้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรในพื้นที่ ป่าลดลง น้ำไม่พอ คนยากจน หนี้สินพะรุงพะรัง จะทำอย่างไร จะทำแบบเดิมๆ หรือจะปรับเปลี่ยนเพื่อสิ่งที่ดีกว่า “มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม” คือ คิด พูด และต้องทำด้วย มีเป้าหมายและลงมือทำ
ในวันนี้ จิสด้า ได้มีโอกาสนำเรียนความคืบหน้าในงานภูมิสังคม การนำกลไกและบทบาทของเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสู่ชุมชน ติดตามการเปลี่ยนแปลง ประเมินศักยภาพเชิงพื้นที่ บ้านห้วยกระทิง อ.แม่ระมาด จ.ตาก ต่อท่านรมช.กษ.ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร และท่านประชา เตรัชต์ อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ท่านยังกล่าวขอให้จิสด้าช่วยติดตามและเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพราะจะช่วยเป็นให้เห็นการเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว ทันสถานการณ์ และสนับสนุนการวางแผนและตัดสินใจได้ทุกระดับ

         

Cr. ขวัญเดียว : จิสด้า รายงาน