เมื่อวันที่17/ม.ค./61 : สทอภ. โดย PM สังคม และฝ่ายภูมิสังคม มิ่งขวัญ กันธา , อลิษา เสมานารถ , ประภาพร ภาชีรัตน์ และนรเชษฐ์ อัจจิมา เข้าร่วมประชุมการจัดทำฐานข้อมูลที่ทำกินของราษฎรในพื้นที่ป่าสงวนและอุทยานแห่งชาติ ท้องที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
นายบุญลือ ธรรมธรานุรักษ์ นายอำเภอแม่แจ่ม เชิญหน่วยงานภาคีประชารัฐแม่แจ่มทุกภาคส่วน ร่วมประชุม วัตถุประสงค์สำคัญเพื่อร่วมออกแบบวางแผนการจัดทำฐานข้อมูลที่ทำกินให้ครบทั้ง104 หมู่บ้าน ยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในมิติเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากร และภัยพิบัติหมอกควันไฟป่า เพิ่มพื้นที่ป่าไม้ตามแนวนโยบายของรัฐ ผลการจำแนกการใช้พื้นที่เบื้องต้นของแม่แจ่ม จำนวน 1,692,698 ไร่ ถูกใช้ประโยชน์ภายในปี 2545 จำนวน 213,462 ไร่ คิดเป็น 12.5% ถูกใช้ประโยชน์ช่วงปี 2546-2554 จำนวน 161,766 ไร่ คิดเป็น 9.5% ถูกใช้ประโยชน์หลังปี 2554 จำนวน 86,359 ไร่ คิดเป็น 5% ยังมีพื้นที่ป่าคงสภาพ 1,235,670 ไร่ คิดเป็น 73% นโยบายระดับพื้นที่โดยนายอำเภอแม่แจ่มจัดทำข้อมูลรายแปลงให้ครบ 104 หมู่บ้านภายในปี 2561 สถานะปัจจุบันมีการดำเนินการไปแล้วทั้งจากประชารัฐแม่แจ่ม สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 (เชียงใหม่) GISTDA&GIST North มูลนิธิไทยรักษ์ป่ มูลนิธิรักษ์ไทย มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภาคเหนือ สภาคริสตจักรในประเทศไทย และ IMPECT จำนวน 63 หมู่บ้าน คงเหลืออีก 41 หมู่บ้านซึ่งหลายพื้นที่อยู่ในระหว่างดำเนินการ
เพื่อให้เกิดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและบูรณาการการทำงานร่วมกันแบบประชารัฐ แปนงานในระยะสั้นเร่งด่วน นายอำเภอแม่แจ่มขอให้ GISTDA ร่วมกับศูนย์ภูมิสารสนเทศฯอำเภอแม่แจ่ม ช่วยยกร่างแผนการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ รวมทั้งออกแบบแนวทางการพัฒนาความยั่งยืนและพัฒนาขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เพื่อรองรับยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงรุกระดับอำเภอ จังหวัด และนโยบายของรัฐลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากร

 
ขวัญเดียว : จิสด้า รายงาน

ประเด็นสำคัญและการดำเนินงานที่ต่อเนื่องในส่วนของชุมชนวันนี้ 18/01/61 ทีมงาน PM สังคมและภูมิสังคมลงพื้นที่ ร่วมถอดบทเรียนและสรุปการดำเนินการสำรวจรายแปลงพื้นที่ทำกินในเขตป่าของพื้นที่ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม ความพร้อมของพื้นที่และเป้าหมายที่ตรงกันจากกลไกการทำงานร่วมระดับอำเภอเชื่อมโยงมาสู่กลไกระดับตำบลและชุมชน ทำให้พื้นที่แม่ศึกมีแผนและการดำเนินการในพื้นที่ตอนนี้ 15 หมู่บ้านจากทั้งหมด 17 หมู่บ้าน และมีเป้าหมายการจัดทำฐานข้อมูลที่ดินและจัดระเบียบที่ดินเสร็จเรียบร้อยภายในเดือนมิถุนายน 61 ทั้งนี้ทีมงานอีกส่วนได้ดำเนินการสร้างความเข้าใจกับชุมชน การถ่ายทอดความรู้ การอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องมือ GPS สนับสนุนเครื่องมือและเทคโนโลยี ในฐานะพี่เลี้ยงให้กับชาวบ้านจำนวน 20 คนที่พร้อมพัฒนาศักยภาพไปพร้อมๆกับการถอดบทเรียนกับภาคีเครือข่าย Gisnorth, รักษ์ไทย และผู้นำองค์กรท้องถิ่นตำบลแม่ศึก นายกอบต.และทีมงานในช่วงเช้า นอกจากนี้ในช่วงบ่ายยังได้ร่วมพูดคุยกับนายกอบต.และท่านปลัดอบต.กองแขก ที่มีความสนใจและพร้อมในการสำรวจข้อมูลที่ดินทำกินเป็นพื้นที่ต่อไป เพื่อเป้าหมายเดียวกันคือการป้องกันการขยายที่ดินทำกิน การบุกรุกพื้นที่ป่าและการทำงานแบบจัดการร่วมกัน สร้างข้อตกลงร่วมกันเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ครอบคลุมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนต่อไป “no land no life”

  

 

  

อลิซ จิสด้า รายงาน