ประชุมเชิงปฏิบัติการ “พื้นที่ทดลองน่านแซนด์บ๊อกซ์” ณ ศูนย์การเรียนรู้และบริการวิชาการ เครือข่ายแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
⏳วัตถุประสงค์👉เพื่อหารูปแบบและแนวทางการดำเนินงานเรื่องสิทธิที่ดินทำกินในเขตป่า(คทช.) และการจัดสรรพื้นที่ทำกินที่จะได้รับอนุญาตตามสัดส่วน 72-18-10 เป็นรายตำบล และเพื่อถอดบทเรียนเตรียมรองรับการแก้ปัญหาต่างๆอันอาจเกิดขึ้นทั้งด้านการจัดการพื้นที่ การโยกย้ายที่อยู่อาศัยเฉพาะกรณีที่จำเป็น การส่งเสริมอาชีพการเกษตร ตลอดจนรวบรวมประเด็นปัญหา ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไข
พื้นที่👉ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง
👉ตำบลนาไร่หลวง อำเภอสองแคว
💡ประเด็นสำหรับการระดมความคิดเห็นอภิปรายรายตำบล โดยที่มีหน่วยงานป่าไม้ ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น น่านแซนด์บ๊อกซ์ จิสด้า
🌼 ประเด็นที่1 : ร่วมพิจารณาให้ข้อคิดเห็นต่อข้อมูลและแผนที่ของตำบลนำร่อง ที่ได้วิเคราะห์จัดกลุ่มขบวนรถไฟตามแนวทางคทช.
เห็นได้ชัดทั้ง2ตำบล ให้ความสำคัญกับข้อมูลและแผนที่ สามารถดูแผนที่ชี้เป้าแปลงทำกินของชาวบ้านได้ โดยสรุปแนวทางประเด็นที่1 ดังต่อไปนี้👇
✍️ คืนข้อมูลและแผนที่ให้ผู้นำชุมชนนำไปหารือและกำหนดวันเวลาในการจัดทำรายแปลงใหม่อีกครั้ง (เก็บตก) ผู้นำ+น่านแซนด์บ๊อก
✍️ พัฒนาช่องทางการสื่อสารความเข้าใจในการจัดสรรที่ดินทำกินตามแนวทาง คทช. ขบวนที่1 2 3 4 ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ โดยมุ่งเป้าที่ผู้นำชุมชน (คู่มือ/วิดิทัศน์ / workshop Training to the Trainer)
🌼ประเด็นที่2 พิจารณาสัดส่วนพื้นที่18 % ซึ่งอยู่ในลุ่มน้ำ 1 , 2 และ 10 % ลุ่มน้ำ 3, 4และ 5 ครอบคลุมชาวบ้านในพื้นที่หรือไม่ มีใครตกหล่นหรือเปล่า ปรากฏว่าภาพรวมชาวบ้านส่วนใหญ่ยังต้องทำกินทั้งปลูกพืชไร่พืชล้มลุก และมีบางส่วนที่เริ่มขยับปลูกไม้ยืนต้น พืชสวน พืชเศรษฐกิจ ถ้าจัดสรรในรูปแบบคทช. โดยใช้ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ สำหรับพื้นที่ปลูกไปแล้วจะทำอย่างไร และพื้นที่ปลูกพืชไร่ปลูกข้าวโพด ต้องเปลี่ยนมาปลูกอะไร และมีตลาดรองรับ หรือประกันราคา ประเด็นนี้อยู่ในระหว่างการศึกษา วิเคราะห์และดำเนินการของทีมน่านแซนด์บ๊อก แต่ความสำคัญตอนนี้คือ ทำอย่างไรให้เกิดปรากฏการณ์จัดสรรที่ดินทำกินให้คนเมืองน่าน อนุญาตให้มีสิทธิ์ตามกรอบกฏหมาย กรอบคทช. ดังนั้นการทำข้อมูล แผนที่รายแปลง เพื่อให้รู้ว่าใคร ทำอะไร อยู่ที่ไหน อยู่มานานแล้วหรือยัง ปลูกอะไรบ้าง จึงเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายสูงสุด 👉การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนเมืองน่าน
🌼ประเด็นสุดท้าย คือผู้ที่อยู่อาศัยทำกินนอกกรอบการอนุญาตคทช. จำเป็นต้องมีการสนับสนุนข้อมูลเพื่อใช้ในการพิสูจน์สิทธิ์ในอนาคตหรือไม่ ภาพรวมเสนอควรมีการสนับสนุนเพื่อนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำในอนาคตและโอกาสในการได้รับการส่งเสริมอาชีพแนวทางเลือกที่เหมาะสมตามแนวทางของน่านแซนด์บ๊อกที่จะดำเนินการต่อในระยะยาว

📑ผลการปฏิบัติการ👇
🔑ตามคาด👉ป่าไม้ไม่มีข้อมูลมาสำหรับการตรวจสอบร่วมกัน มีมาแค่ตารางตัวเลข โดยใช้ข้อมูลตัวเลขป่าสงวนที่ยังไม่ตรงกับที่น่านแซนด์บ๊อกซ์ใช้ ที่รวมพื้นที่ป่าสงวนเดิมกับแนวเขตป่าสงวนใหม่ของOne map ไว้แล้ว ตัวเลขและสมการ วิธีคิดในการแบ่งสัดส่วนพื้นที่ต่างกัน และความเข้าใจของชาวบ้านผู้นำเรื่องกรอบคทช.ยังไม่เคลียร์100% การรับรู้และเข้าใจยังแตกต่างกัน รวมถึงความชัดเจนเรื่องการจัดสรรพื้นที่ตามสัดส่วน 72:18:10 ของน่านแซนด์บ๊อกซ์ และความสอดคล้องเชื่อมโยงกับคทช.ประเด็นนี้ต้องสร้างความเข้าใจโดยเร็ว
🔑 เกินคาด👉 ความพร้อมของทั้งสองตำบล ผู้นำชุมชน ท้องที่ ท้องถิ่น ให้ความสำคัญมาร่วมโดยสามารถให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ด้วยข้อมูลและแผนที่พร้อมและชัดเจนเข้าใจง่ายต่อการระดมความคิดเห็น เป็นมิติที่น่าสนใจ
🔑 จะดีกว่านี้👇
🛠 กลุ่มเป้าหมายมาครบทุกหมู่บ้าน
⚒ จัดรูปแบบการFocus group (โต๊ะกลม หรือตัวยู) เพื่อกระตุ้นการแลกเปลี่ยน อภิปราย ระดมความคิดเห็น
⚒ Stake holder มาครบ คทช.จังหวัดมาครบทุกอนุฯ
⚒ มีแผนรูปแบบการผลิตตามความถนัดของแต่ละพื้นที่
⚒ ป่าไม้นำข้อมูล แผนที่ มาร่วมตรวจสอบ
⚒ น่านแซนด์บ๊อกซ์ เป็นผู้ขอจัดสรรพื้นที่ทั้งจังหวัด ลดขั้นตอน คทช.
🗂 สรุปภาพรวม ทั้งสองตำบลมีความต้องการปรับเปลี่ยนการผลิตภาคเกษตรและต้องการความมั่นคงในที่ดินทำกินที่อยู่อาศัยตามกรอบกฏหมาย ขอแค่ความชัดเจน และหลักประกันสำหรับอนาคตและช่วงเปลี่ยนผ่าน และมั่นใจว่าความร่วมมือของชุมชนและการสำรวจข้อมูล แผนที่ นำไปสู่การเพิ่มพื้นที่ป่าได้แน่นอน ป่าเพิ่ม ความยากจน ความยากไร้ ความเหลื่อมล้ำต้องลดลง สร้างความมั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืน โดยมีรูปแบบที่ชาวบ้านเข้าใจง่ายเข้าถึงได้สะดวกมองเห็นภาพฉายและเป้าหมายเดียวกันที่ชัดเจน
Cr. ขวัญเดียว รายงาน